หน่วยที่ 3

(หน่วยที่  3  รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ )
                     ชื่อ   รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์( Synectics  Instructional  Model  )
หลักการ
                เป็นรูปแบบที่จอยส์  และวีล  พัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ  กอร์ดอน  ที่กล่าวว่า  บุคคลทั่วไปมักยึดติดกับวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิมๆ  ของตนโดยไม่ค่อยคำนึงถึงความคิดของคนอื่น ทำให้การคิดของตนคับแคบและไม่สร้างสรรค์  บุคคลจะเกิดความคิดเห็นที่สร้างสรรค์แตกต่างไปจากเดิมได้  หากมีโอกาสได้ลองคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เคยคิดมาก่อน  หรือให้บุคคลจากหลายกลุ่มประสบการณ์มาช่วยกันแก้ปัญหาจะได้วิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นกอร์ดอนจึงเสนอให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดแก้ปัญหาด้วยแนวความคิดใหม่ๆ  ที่ไม่เหมือนเดิม  ไม่อยู่นสภาพที่เป็นตัวเอง  สภาพการณ์เช่นนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ๆ  ขึ้น กอร์ดอนได้เสนอวิธีการเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมยเพื่อใช้ในการกระตุ้นความคิดใหม่ๆ  ไว้  3 แบบ  คือ  การเปรียบเทียบแบบตรง  การเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ  และการเปรียบเทียบคำคู่ขัดแย้ง 
วัตถุประสงค์
                มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดที่ใหม่แตกต่างไปจากเดิมและสามรถนำความคิดนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ขั้นตอน
                ขั้นที่  1  ขั้นนำ
                ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงานต่างๆ  ที่ต้องการให้ผู้เรียนทำตามปกติที่เคยทำ  เสร็จแล้วให้เก็บผลงานนั้นไว้ก่อน
                ขั้นที่  2  ขั้นการเปรียบเทียบแบบตรง
                ผู้สอนเสนอคำคู่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง  คำคู่ที่ผู้สอนเลือกมาควรมีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรืองานที่ผู้เรียนทำในขั้นที่  1 
                ขั้นที่  3  ขั้นการเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ
                สอนให้ผู้เรียนสมมติตัวเองเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งและแสดงความรู้สึกออกมา
                ขั้นที่  4  ขั้นการสร้างคำคู่ขัดแย้ง
                ผู้สอนให้ผู้เรียนนำคำ  หรือวลีที่ได้จากการเปรียบเทียบในขั้นที่  2  และ  3  มาประกอบกันเป็นคำใหม่ที่มีความหมายขัดแย้งกันในตัวเอง
                ขั้นที่  5  ขั้นอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้ง
                ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้งที่ได้
                ขั้นที่  6  ขั้นนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน
                ผู้สอนให้ผู้เรียนนำงานที่ทำไว้ในขั้นที่  1  ออกมาทบทวนใหม่  และลองเลือกนำความคิดที่ได้มาใหม่จากกิจกรรมขั้นที่  5  มาใช้ในงานของตน  ทำให้งานของตนมีความสร้างสรรค์มากขึ้น
ข้อดี                                                               
                1.ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ๆ  และสามารถนำความคิดใหม่ๆ  ไปใช้ในงานของตน  ทำให้งานของตนมีความแปลกใหม่  น่าสนใจมากขึ้น 
                2.ผู้เรียนเกิดความตระหนักในคุณค่าของการคิด  และความคิดของผู้อื่นด้วย
                3.วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนและการพูดอย่างสร้างสรรค์  รวมทั้งการสร้างสรรค์งานศิลปะ
ข้อด้อย
                1.ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนมากขึ้น เนื่องจากต้องเตรียมคำคู่เพื่อให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง
                2.ในกรณีที่เป็นการเรียนรู้ในสาระวิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อน อาจจะต้องใช้เวลามากสำหรับผู้สอนในการเตรียมการสอนและต้องให้เวลาผู้เรียนมากขึ้นในการเรียนรู้แต่ละขั้นตอน
ข้อเสนอแนะ
                1.ผู้สอนควรเพิ่มพูนทักษะด้านภาษาของตนเองเพื่อชวยในการเตรียมคำคู่ที่มีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 
                2.ผู้สอนต้องมีเวลาในการเตรียมการสอนมากพอ

                จันทร์ชลี มาพุทธ. (2545). การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วย Storyline Approach. วารสารศึกษาศาสตร์                                          ปีที่14 ฉบับที่ 2 เดือน พฤศจิกายน 2545-มีนาคม 2546.
                ทิศนา แขมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                วัฒนา ก้อนเชื้อรัตน์. การพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเผยแพร่ใน     
                                http://www.pantown.com/content.php?id=5903&name=content9
                สงบ ลักษณะ. (2542). CIPPA-Story Model. วารสารสานปฏิรูป ฉบับเดือนตุลาคม2542. เผยแพร่ใน
                                learners.in.th/file/achariyaporn/aew15.doc
                Som_Ying_Ka . (2550). รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์. เผยแพร่ใน                                           http://learners.in.th/file/som_ying_ka/view/58730
                http://www.storyline-scotland.com/england.html
                http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_14_1.pdf




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น