หน่วยที่ 1


กลยุทธ์........การสอนคิดเปรียบเทียบ
ดร.สุวิทย์ มูลคำ
พิมพ์ครั้งที่  1   มกราคม     2548
พิมพ์ครั้งที่  2   พฤษภาคม   2548
พิมพ์ครั้งที่ 3   พฤศจิกายน   2550
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
บรรณาธิการกิจ : พูลทรัพย์  คชฤทธิ์ , ดร. อรทัย มูลคำ
คอมพิวเตอร์กราฟิคและจัดรูปเล่ม : สุกัญญา บุญทัน, เสรี วรสิทธิกร
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
153.207  สุวิทย์  มูลคำ
ส-ค     กลยุทธ์การสอนคิดเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์, 2548
152 หน้า
1.ความคิดและการคิด-การศึกษาและการสอน
2.ชื่อเรื่อง
ISBN  974-92178-6-1
ราคา 150 บาท
จัดทำโดย:บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด
12/234  ซอยเสือไทยอุทิศ ถนนรัชดาภิเษก  แขวงจันทรเกษม   เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ    10900
โทร :0-2541-7375,0-2930-6215 FAX:0-2541-7377,0-2930-7733 Email: dktoday@inet.co.t
พิมพ์ที่: ห้างหุ่นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์
296 ซอยจรัญสนิทวงศ์  40 ถนนจรัญสนิทวงศ์  แขวงบางยี่ขัน
เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร  10700
โทร. 0-2433-0026-7,0-2433-8586,โทรสาร,0-2433-8587


( นื้อหาหน่วยที่ 1 เรื่องการคิดเปรียบแทียบอุปมาอุปไมย )
ลักษณะการคิดเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย
        การจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งมั่นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยอาศัยกระบวนการคิดเปรียบเทียบลัษณะการอุปมาอุปไมยเป็นหลักนั้น  อาจใช้การเปรียบเทียบในลักาณะดังต่อไปนี้
    1.(Direct Analogy) เป้นการเปรียบเทียบทางตรงระหว่างสิ่งของ หรือมากกว่า อาจเป็นคน สัตว์ พืช วัตถุ สิ่งของต่างๆไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกประการ  จุดประสงค์ก็คือให้มองเห็นปัญหาอีกทางหนึ่ง หรือเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ซึ่งอาจจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น วิศวกรท่านหนึ่งเฝ้าสังเกตดูหนอนตัวหนึงเจาะท่อนไม้เป็นอุโมงค์ ทำให้วิศวกรผู้นี้เกิดความคิดสร้างอุโมงค์ทำงานใต้น้ำขึ้นมา
    2.(Personal Analong) การเปรียบเทียบแบบนี้นักเรียนต้องทำตนให้เหมือนสิ่งที่เปรียบเทียบ และบรรยายความรู้สึกที่ตนเป็นแบบนั้น สิ่งที่เปรียบเทียบอาจเป็น คน พืช สัตว์ หรือ สิ่งของเช่นให้นักเรียนสมมุติว่าตัวเองเป็นเครื่องยนต์ในเครื่องยนต์ แล้วบอกว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อรถติดเครื่องในตอนเช้าหรือเมื่อไปแบตเตอร์รี่หมด หรือเมื่อรถจอดติดไปแดง การที่นักเรียนต้องสมมุติว่าตัวเองเป็นสิ่งหนึ่งทำให้ลืมความเป็นตัวเองสักครู่ และเปรียบเทียบจะทำให้นักเรียนเกิดความแปลกใหม่ และสร้างความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้  โดยเอาความรู้สึกของตนเองใส่ไปในสิ่งที่สมมุติขึ้นและบรรยายความรู้สึกออกมา
    3.การเปรียบเทียบโดยใช้คำคู่ที่มีความหมายแตกต่างกัน(Compressed Conflict)เป็นการเปรียบเทียบสองคำที่มีความหมายขัดแย้งกันหรือตรงข้ามกันเข้ามาอธิบายลักษณะของคน พืช สัตว์ หรือสิ่งที่ต้องการ ยกตัวอย่างคำในภาษาอังกฤษเช่น ก้าวร้าวอย่างเหนื่อยหน่าย (Tiredly Aggressive) เป็นต้น
   4.การคิดเปรียบเทียบเชิงอุปลักษณ์(Metaphor) คือ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ของที่แตกต่างกัน มีลักษณะบางประการพร้อมกัน  หรืออาศัยหลักการบางอย่างร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การคิดเปรียบเทียบระหว่างไส้กลองเชื้อเพลงกับไตของมนุษย์ของสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน แต่มีความเหมือนกันในเรื่องของหน้าที กล่าวคือ ทั้งสองสิ่งมีหน้าที่ในการกรองสิ่งสกปรก โดยทำหน้าที่โดยการจำแนกชนิดของโมเลกุลซึ่งบางชนิดจะสามารถผ่านระบบกรองไปได้ แต่บางชนิดจะถูกสกัดกั้น นอกจากนี้ ไต ยังอาจเปรียบเทียบได้กับผ้ากรอง กระชอน หรือป้อมยามที่ตรวจบัตรคนเข้าออกของสถานที่ราชการเป็นต้น หรืออาจจะเปรียบเทียบการปฎิวัติการระเบิดของภุเขาไฟ หรือกระแสไฟฟ้ากับน้ำประปา จะเห็นได้ว่าสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบดังกลาวจะไม่เหมือนกันในทุกแง่ แต่การพิจนาเปรียบเทียบแล้วมองเห็นองค์ประกอบที่คล้ายกันจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ยากให้ง่ายขึ้น

 การคิดเปรียบเทียบเชิงอุปลักษณ์ จะไม่มีคำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด และไม่มีคำตอบใดๆที่ดีกว่าคำตอบอื่นๆ เพราะความสำคัญของการคิดอยู่ที่การอธิบายเหตุผลที่ให้ ไม่ได้ที่ให้ ไม่ได้อยู่ในสิ่งที่เปรียบเทียบ เหตุผลอาจแตกต่างกันได้ดังนั้นคุณค่าของวิธีการเปรียบเทียบจึงอยู่ระหว่างการโยงความสัมพันธ์ ที่เป็นประสปการณ์กับเนื้อหาใหม่ วิธีการเปรียบเทียบ จึงเป้นวิธีการสนับสนุนให้ผู้เรียนนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ วึ่งมิใช่การเริ่มตนจากศูนย์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น