หน่วยที่2

( เนื้อหาหน่วยที่  2 เรื่อง การนำความคิดเชิงอุปลักษณ์ปใช้ในการจัดการเรียนรู้)
การนำความคิดเชิงอุปลักษณ์ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
          ผู้สอนอาจใช้กระบวนการคิดเปรียบเทียบเชิงอุปลักษณ์ในทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่นำเข้าสู่บทเรียน การทำความเข้าใจ การทบทวนความรู้ การทดสอบความรู้ หรือการนำไปใช้ สู่ทักษะอื่นๆ เช่น การคิดหรือการเขียนอย่างสร้างสรรค์
การนำไปใช้
1.ใช้ในการเข้าสู่บทเรียน การใช้การคิดเปรียบเทียบเชิงอุปลักษณ์จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาใหม่เป็นอย่างดี
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าครูสอนในเรื่องไต แล้วพยายามคิดหาสิ่งเปรียบเทียบ อาจเริ่มซักถามตัวเองตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1)เราต้องการให้นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องไต
  คำตอบ หน้าที่และความสำคัญของไต
3) ไตมีหน้าที่อะไร
 คำตอบ  กรองของเสีย
4) กรองของเสียได้โดยวิธีใด
ตอบ โดยการจำแนกโมเลกุลโมเลกุลบางชนิดผ่านไปได้ บางชนิดถูกกักไว้
5) มีอะไรบ้านในการกรองของเสียในการจำแนก
คำตอบ ใส้กรองเชื้อเพลิงรถยนต์ ถุงกาแฟ กระช้อน เครื่องจำแนกขนาดของใช้
6) คำเปรียบเทียบในข้อห้อ ล้วนเป็นเครื่องจำแนกประเภท มีสิ่งใดบ้างที่ใช้ระบบหมุนเวียน
ตอบ ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
7) นักเรียนเข้าใจการทำงานของไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลงดีหรือไม่
คำตอบ ไม่
8.ดังนั้นเราอาจเปรียบเทียบชนิดอื่น ที่เราเข้าใจง่ายกง่ายกว่า เช่น เราอาจใช้กระช้อนกรองน้ำกะทิ โดยนำมาสาธิตในนั้น แต่ต้องย้ำให้นักเรียนเข้าใจว่า ไตไม่ได้กรองของเหลวจากของแข็ง เช่นกระช้อน
9.กระช้อนต่างจาดไตอย่างไร
คำตอบ กระช้อนไม่มีระบบการหมุนเวียนของน้ำกะทิผ่านกระช้อน
10.ประมวนแบบการเรียนทั้งหมดได้อย่างไร
คำตอบ อาจใช้กระช้อนและผ้าขาวบางมาใช้ในการสาธิตการกรองและแสดงความเหมือน และความแตกต่างของกระช้อนกับไตแล้วพุดถึงเรื่องการกรอง และเครื่องจำแนกประเภทแบบอื่นๆ และให้นักเรียนยกตัวอย่างเพิ่มเติม ให้นักเรียนยกตัวอย่างเครื่องกรองอื่นๆ ที่นักเรียนรู้จัก ถ้านักเรียนนึกไม่ออกให้ครูอธิบายระบบการหมุนเวียนของระบบต่างๆ แล้วให้นักเรียนบอกว่าอะไรในระบบหมุนเวียนนั้นทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรก ครูอาจยกตัวอย่างไส้กรองเชื้อเพลงกรองน้ำเสียโรงงานอุสาหกรรม เป็นต้น
       สิ่งสำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องคิดหาสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกับเนื้อหาใหม่ไว้ล่วงหน้า  ผุ้สอนบางคนโชคดีมีพรสวรรค์ในการคิดหาสิ่งเปรียบเทียบในเวลาสั้นๆ คิดได้เลย แต่บางคนต้องอาศัยระยะเวลาและการฝึกฝน แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ นานไปก็จะคิดได้คล่องแคล่ว

                                                                   บรรณานุกรม
กองวิจัยทางการศึกษา, กรมวิชาการ. รายงานการสังเคราะห์เอกสารเรื่องวิธีสอนและรูปแบบการเรียนการสอน   วิชาภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คฯตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา,2543
เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดชิงเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่กรุงเทพ:ซัค เซสมีเดีย,2546.
ทิศนา  แขมมณี และคณะ. วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพฯ:บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปเมเนจเม้นท์ จำกัด,2544
ประพันธืศิริ  สุเสารัจ.คิดเก่งสมองไว.กรุงเทพฯ: โปรดัคทีฟบุ๊ค,2541.
วรินทร วูวงศ์. การศึกษากับการสร้างคนแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ่นส่วนจำกัดภาพพิมพ์,2546.
ศันสนีย์  ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ.ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2544.
สมปัต  ตัญตรัยรัตน์และคณะ.สอนให้คิด  คิดแล้วเขียน   เขียนจากความคิด.
          กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิส,2545.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวธน์.ความคิดสร้างสรรค์  :   การประยุกต์สู่การเรียนการสอน.
เชียงใหม่:ภาควิชาจิตรวิทยาและการแนะแนว  คณะครุศาตร์.วิทยาลัยครูเชียงใหม่,มปป.
สุดตระการ  ธนโกเศศ: หมวก6    ใบคิด   6 แบบ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพ: ชานชาลา,2546.
สุวิทย์  มูลคำ.ครบเครื่องวิทยากร.เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท ที. พี. พริ้นท์ จำกัด, 2545.
ชาญ  ตระกูลเกษม และคณะ.สารานุกรมเพลงยอดนิยมในอดีต  เพลงรักอมตะ.
       กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วรรณสาส์น  จำกัด, 2544.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงทพฯ : โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์ 2540.
หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา. สอนให้คิด. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,2545.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น